รวม 4 อาการเพาเวอร์ซัพพลายเสีย Power supply เสียอาการต่างๆ สาเหตุตัวที่เสียในวงจร รวมถึง อาการ Power Supply เสื่อม

อาการเพาเวอร์ซัพพลายเสีย


ก่อนดูอาการเสียของเพาเวอร์ซัพพลาย และ ตัวที่เสียในวงจร  มาทบทวนหลักการทำงานของ  Switching  Power Supply กันก่อน  ว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง    หนึ่งอาการเสียมันมีหลายสาเหตุ  ดังนั้นจึงต้องเข้าใจหลักการทำงานของวงจรประกอบการซ่อมด้วย     ต้องไล่เช็คและจัดลำดับความสำคัญอุปกรณ์ที่น่าจะเสีย  คือให้มุ่งเช็คตัวที่เสียบ่อย  ตัวที่เสียประจำเป็นลำดับแรกๆก่อน      

เมื่อใช้งานเพาเวอร์ซัพพลายผ่านไปหลายปีมันจะเสื่อมสภาพ  อาการ Power Supply เสื่อมเกิดจากอุปกรณ์ในวงจรเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานโดยเฉพาะวงจรที่เน้นราคาถูกมักจะใช้อุปกรณ์เกรดกลางๆเพื่อลดต้นทุนการผลิตดังนั้นมันจะเสียเร็วกว่าวงจรที่ใช้อุปกรณ์เกรดอย่างดี ข้อดีคือมีสินค้าราคาถูกใช้ ข้อเสียก็มีคือให้วางแผนการซ่อมไว้ด้วยภายในประมาณ  2- 3 ปีหลังจากใช้งาน  ( อาจเร็วกว่านี้หรือนานกว่านี้ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน )  เพื่อยืดอายุการใช้งานของวงจร สามารถทำได้ด้วยการระบายความร้อนต้องดี  และ  ให้ใช้งานวงจรที่ 60-70% ของพิกัด   เช่น   พิกัด  10A   ใช้งานจริงไม่ควรเกิน   6A - 7A   เพื่อไม่ให้วงจรทำงานหนักเต็มพิกัด


ทบทวนหลักการทำงานของ   Switching   Power  Supply  
1)   ด้านไฟเข้า   เริ่มจากไฟ AC  220V เข้ามาผ่านไดโอดบริดจ์ จากนั้นเก็บไฟนี้ไว้ที่ C ฟิลเตอร์  ไฟ 300V  
ไฟสูง 300V นี้จะไปรอที่ขา D ของมอสเฟตเพื่อรอการสวิตชิ่ง     
2)   การสร้างความถี่ขับ   จะมี  IC  PWM เป็นตัวสร้างความถี่ควบคุมสั่งให้มอสเฟต ON / OFF    เร็วช้า    การ  ON / OFF  ของมอสเฟตจะทำให้หม้อแปลงความถี่สูงสร้างแรงดันเหนี่ยวนำ  โดยปริมาณแรงดันเหนี่ยวนำนี้จะมากหรือน้อยจะเปลี่ยนไปตามความถี่ควบคุมที่มาจาก IC  PWM  สั่งขับมอสเฟต  
3)  ด้านไฟออก  จะมีไดโอดความถี่สูง   และ C ฟิลเตอร์ด้านไฟออก   
4)  การป้อนกลับให้ IC  PWM    แรงดันไฟออกที่ได้จะมีการเช็คว่า ได้แรงดันไฟค่าตรงค่าปกติหรือไม่  ?  ได้แรงดันไฟออกน้อยไป  ?   หรือได้แรงดันไฟออกมากไป  ?   โดยจะมีตัวต้านทานทำหน้าที่เช็คและป้อนกลับโดยอาศัยหลักการแบ่งแรงดัน  ตัวต้านทานป้อนกลับนี้จะทำงานร่วมกับ Opto  คือนำข้อมูลแรงดันไฟออกที่ได้  ป้อนกลับไปยัง  IC   PWM   ให้ปรับความถี่ขับมอสเฟต (ขับหม้อแปลง) สัมพันธ์กับค่าแรงดันไฟด้านออก ปรับแก้แรงดันไฟด้านออกให้ได้ค่าตรง  เช่น ถ้าไฟออกน้อยไป ก็ให้ IC ขับมอสเฟตขับหม้อแปลงมากขึ้นเพื่อเพิ่มแรงดันขาออก    ถ้าไฟออกมากไป  ก็ให้ IC ขับมอสเฟตขับหม้อแปลงน้อยลงเพื่อลดแรงดันขาออก  เป็นการชดเชยแรงดันขาออก


4    อาการเพาเวอร์ซัพพลายเสีย  Power  Supply  เสียอาการต่างๆ 

1)   ไม่มีไฟเลย  หรือ   Power   Supply   เสีย เปิดเครื่องไม่ติด
มีหลายสาเหตุ  ให้ไล่เช็คอุปกรณ์ด้านไฟเข้าก่อนคือ

-   ไดโอดบริดจ์เสีย ขาด   ช๊อต      ?
-   C ฟิลเตอร์ไฟ  300V   ขาด
-   มอสเฟตขาด  มอสเฟตช๊อต       
-   IC  PWM ช๊อต หรือ  เสียแบบอื่นๆ มันไม่ผลิตความถี่ขับมอสเฟต
-   อุปกรณ์รอบๆ   IC  PWM  เสีย  เช่น  C  และ  ZD
-   R สต๊าทขาด   R สต๊าทยืดค่า  ค่ามันสูงขึ้นมาก ทำให้ไฟไปเลี้ยง IC PWM ไม่พอ  IC ไม่ทำงาน
-   R  สต๊าทหลวม
-   ซีเนอร์  ZD    ใกล้ๆ  IC  PWM   เสีย


จากนั้นให้ไล่เช็คอุปกรณ์ด้านไฟออกคือ
-   ไดโอดความถี่สูงช๊อต  รั่ว
-   Opto  เสีย

สาเหตุอื่นๆ   เช่น   จุดบัดกรีหลวม    สวิตช์ปิดเปิดไฟ AC เสีย    สายไฟขาดใน   เป็นต้น
โดยให้สังเกตถ้าฟิวส์ขาด มีคราบดำๆ  จะมีตัวช๊อตมีกระแสไหลเกินปริมาณมากเกิดขึ้นแล้ว   เช่น  ไดโอดบริดจ์ช๊อต   C ฟิลเตอร์ช๊อต   มอสเฟตช๊อต   ให้ไล่เช็คอุปกรณ์รอบๆให้หมด  เพราะกระแสไหลเกินปริมาณมากนี้จะทำให้อุปกรณ์หลายตัวเสียเป็นบริเวณกว้างเสียแบบลามไปหลายตั


2)    ติดแล้วดับ  Power supply เปิดติดแล้วดับ
มีไฟเข้ามาแล้วแต่มีตัวเสียตัวเสื่อมอยู่ในวงจร   วงจรจึงตัดการทำงานเพื่อป้องกันวงจรเสียหายหนัก
ให้ไล่เช็คอุปกรณ์ดังนี้
-   R   ทริมเมอร์ตรงจุดไฟออกเสีย
-   R  ป้อนกลับใกล้ๆ Opto  ขาด  ยึดค่า หลวม   ส่งผลให้ IC  PWM ตีความหมายว่ามีไฟผิดปกติที่ด้านไฟออกจึงสั่งหยุดขับมอสเฟต
-   Opto   ขาด  ช๊อต  รั่ว  ส่งผลให้ IC  PWM ตีความหมายว่ามีไฟผิดปกติที่ด้านไฟออกจึงสั่งหยุดขับมอสเฟต
-   IC  Error Amp  เสีย   (  บางวงจรจะไม่มี IC  ตัวนี้  )
-   ZD   ซีเนอร์ไดโอดที่ทำหน้าที่เช็คแรงดันเกินด้านไฟออกเสีย
-   อุปกรณ์ป้องกันเสีย  เช่น  อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เช็คกระแสเกินคือ  R ค่าต่ำๆ  อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เช็คแรงดันเกิน  เช่น   ZD   SCR


3)    ติดดับ  ติดดับ  สลับกัน   
แสดงว่ามีไฟเข้ามาแล้วแต่มีตัวเสียอยู่ในวงจร   ให้ไล่เช็คอุปกรณ์ดังนี้ โดยมุ่งไปที่อุปกรณ์ด้านไฟออกเป็นลำดับแรก
-   ไดโอดความถี่สูงช๊อต  รั่ว
-   C ฟิลเตอร์ด้านไฟออกรั่ว  มันจะอยู่ใกล้ ๆ ไดโอดความถี่สูง
-   R  ป้อนกลับขาด / ยืดค่า
-   R  ทริมเมอร์เสีย
-   Opto เสียช๊อต  รั่ว
-   IC  Error  Amp   เสีย
-   R  เซนเซอร์ ที่เช็คกระแสเกินยืดค่า  ทำให้วงจรป้องกันทำงานเร็ว มองว่ามีกระแสเกินในวงจร จึงตัดการทำงาน
-  อุปกรณ์บางตัวด้านไฟออกเสื่อมสภาพแล้ว เมื่อทำงานที่กระแสสูงๆ แรงดันสูงๆกว่าภาวะปกติ มันแสดงอาการลักษณะเสีย

4)    ไฟออกต่ำ   
แสดงว่ามีไฟเข้าวงจรแล้วแต่มีอุปกรณ์บางตัวเสียอยู่  โดยเริ่มไล่เช็คจากอุปกรณ์ด้านไฟออกก่อน   จากนั้นย้ายมาเช็คอุปกรณ์ด้านไฟเข้า

-    C  ฟิลเตอร์ด้านไฟออกเสีย   C  ค่าลดมาก
-    Opto  เสีย  ช๊อต    ( บางวงจรจะมี IC  Error Amp เสีย )
-    หม้อแปลงความถี่สูงช๊อตรอบบางส่วน  แรงดันเหนี่ยวนำจึงออกต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
-    C  ฟิลเตอร์ด้านไฟเข้า  หรือ C  ไฟ  300V เสีย
-    IC  PWM  ช๊อต  ไม่ผลิตความถี่ขับมอสเฟต หรือ ทรานซิสเตอร์
-    มอสเฟต  /   ทรานซิตเตอร์  รั่ว
-    R เซนเซอร์วัดกระแสค่ายืด วงจรป้องกันมองว่ามีไฟเกินอยู่ วงจรส่วนอื่นๆจึงไม่ทำงาน


Power supply เสีย




เลือก  หัวข้อ / เรื่อง   อ่านเพิ่ม 


การวัดมอสเฟต      วิธีวัดมอสเฟต  MOSFET
https://www.bertansem.com/2023/07/3-mosfet.html

เทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์ ออนไลน์ ทรานซิสเตอร์เบอร์แทน วิธีเทียบเบอร์ ไดโอด มอสเฟต IGBT SCR

เทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์   ออนไลน์   ทรานซิสเตอร์เบอร์แทน


2   วิธีเทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์  และ  อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆด้วยตัวเอง  

ข้อดีของวิธีการนี้คือ  มีารางเปรียบเทียบค่าต่างๆ    ช่วยให้เห็นภาพรวมและค่าที่สำคัญ ๆ  ได้อย่างรวดเร็ว  ให้ไล่ดูรูปด้านล่างจนจบขั้นตอน     จำเป็นต้องทราบและอ่านทั้ง 2   วิธีเทียบเบอร์นี้ไว้   ในการนำไปใช้งานจริงสามารถเลือกใช้ตามความถนัด  หรือ ใช้สลับวิธีกันก็ได้    วิธีเทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์ออนไลน์ และ วิธีเทียบเบอร์   ไดโอด  มอสเฟต   IGBT   SCR  เป็นต้น     ให้อ่านต่อไปนี้จนจบ  และ   ดูวีดีโอประกอบอีกรอบ

ดู   Video  ที่อยู่  ด้านล่างสุด   ........

และ  อ่านตามนี้ ประกอบ   ...........

ในงานซ่อมจำเป็นต้องเทียบเบอร์อุปกรณ์เนื่องจากอะไหล่บางเบอร์หายาก  บางเบอร์เลิกผลิตแล้ว หรือเป็นงานซ่อมด่วนต้องใช้อะไหล่ที่มีในร้านมาใช้แทนชั่วคราวไปก่อนเป็นต้น 


วิธีที่  1  ให้ไปที่เวปไชต์ตามรูปด้านล่าง  และ ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่   1)   ใส่เบอร์ที่ต้องการค้นในช่องค้นหา  ตามรูป

ยกตัวอย่างต้องการค้นหาเบอร์แทนของ      IRF840

มันจะขึ้นรายการเบอร์ต่างๆ       ให้คลิกเลือกเบอร์ที่ตรงมาแสดง 

และ   มันจะแสดงรายละเอียดสเปคตามรูป


    เลือกกดเบอร์ที่ตรง  มาแสดงรายละเอียด

    แสดงรายละเอียดของเบอร์นั้น ๆ  


ขั้นตอนที่   2)   ให้เลือนลงมาแถวล่างๆจะเจอข้อความ  Equivalent   

ตามตัวอย่างที่วงไว้ในรูป และ   กดตรงที่วงไว้นี้


    
   กดตรงข้อความนี้   เพื่อให้มันแสดงเบอร์เทียบเคียงขึ้นมา   เป็นตารางรายการเบอร์ตามด้านล่าง




ขั้นตอนที่   3)    มันจะแสดงตารางเบอร์เทียบและเบอร์ใกล้เคียงให้เลือก   ให้ทำการเปรียบเทียบตัวถัง ตำเหน่งขา และค่าทางไฟฟ้า  โดยเราต้องมีความเข้าใจการทำงานของอุปกรณ์และค่าทางไฟฟ้าระดับหนึ่งในการเลือกเบอร์เทียบตามตารางแนะนำนี้   เช่น  ให้เปรียบเทียบ

-    ค่ากระแสไฟฟ้า    เท่ากันหรือมากกว่า  =  ใช้ได้

-    ค่าแรงดันไฟฟ้า    เท่ากันหรือมากกว่า  =  ใช้ได้

-    ค่ากำลังไฟฟ้า หรือ วัตต์   เท่ากันหรือมากกว่า  =  ใช้ได้

-    รูปแบบตัวถังในตารางใช้คำว่า Case  และ การเรียงตำเหน่งขา ต้องเรียงเหมือนกัน

-    ชนิดโครงสร้าง  เช่น   NPN    PNP  ,   N  แชนแนล ,  P  แชนแนล ต้องชนิดเหมือนกัน

-    แรงดันสั่งงานตรงขาเกต  หรือขา G   สำหรับมอสเฟต    IGBT  และ SCR

-     ค่าความจุอินพุต    ระยะเวลา tr   และ  ค่าความต้านทานขณะ ON ของมอสเฟต  ( Rds ON ) ยิ่งน้อยยิ่งดีจะมีการสูญเสียน้อย มีความร้อนน้อยขณะทำงานสภาวะ  ON 

 

    
    ตารางเปรียบเทียบค่าต่างๆ    ช่วยให้เห็นภาพรวมและค่าที่สำคัญ ๆ  ได้อย่างรวดเร็ว



วิธีที่  2    เบอร์เทียบที่มีคนแนะนำไว้โดยเราจำเป็นต้องทวนเช็คสเปคอีกรอบเพื่อให้ชัวร์     

โดยใช้คำค้นตามตัวอย่างนี้  พิมพ์เบอร์และตามด้วยคำว่า  Replacement  หรือ  Equivalent   หรือ Cross   Reference    ดูตัวอย่างด้านล่าง    โดยเราต้องตรวจสอบอีกรอบเรื่องตัวถัง   ตำเหน่งขาและค่าทางไฟฟ้าเพื่อให้มั่นใจ

TIP41C   Replacement

TIP41C   Equivalent 

TIP41C   Cross   Reference 

















4  อาการ  เพาเวอร์ซัพพลาย เสีย    Power supply  เสียอาการต่างๆ  อ่านที่นี้



วิธีการใช้มัลติมิเตอร์      วัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

 มี    15   ตอน   การใช้งานมัลติมิเตอร์     เพื่อวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

 -    เช็ค ดี / เสีย  เป็น    
 -    วัดอุปกรณ์เป็น   ครบอุปกรณ์ที่สำคัญ
 -     เตรียมตัวไปทำงาน หรือ สมัครงาน  มีพื้นฐานดี  สามารถต่อยอดไปได้ไกล  
        บริษัทหรือหน่วยงานต่างๆต้องการคนที่มีพื้นฐานดีและเตรียมพร้อมจะทำงาน  
        เมื่อเข้าไปทำงานแล้วใช้เวลาเรียนรู้งานไม่มาก
-      ลดต้นทุน    ใช้ของให้คุ้มค่า    อุปกรณ์หายากแล้วจำเป็นต้องซ่อมเพื่อใช้งานต่อ  
        ทำงานเกี่ยวกับการซ่อมบำรุง







อ่านได้ที่     Google  play   books    
กดที่รูปปกหนังสือ (รูปที่  1)    จะไปยังหน้าเพจหนังสือให้


หนังสือ   ebook  Google play books

              ปก   หนังสือ  E- book  " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม " 
 อ่านได้ที่   Google play books   มี   15  เรื่องในเล่ม   
 มีรูปประกอบเยอะ         เข้าใจง่าย


กดที่รูป     ปกหนังสือ   ( รูปที่  1)    จะไปยังหน้าเพจหนังสือให้   
อ่านได้ที่     Google  play   books   
สะดวก  และ ง่าย   สำหรับยุคมือถือใช้เพื่อการเรียน  และ  การทำงาน  


อ่านที่   Mebmarket   ได้ทั้ง   Android   และ  IOS
Mebmarket ร้าน  E book ชั้นนำของไทย
ใช้ชื่อหนังสือค้นใน   google ก็เจอ  เช่นกัน 
ชื่อ :   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม





การวัดมอส เฟต 3 ขา และ วิธีวัดมอสเฟต MOSFET

วัดมอส เฟต 3 ขา   วิธีวัดมอสเฟต  MOSFET


วิธีวัดมอสเฟต  MOSFET  มีรูปประกอบ ช่วยให้เข้าใจง่าย ๆ 

ขั้นตอนการวัดมอสเฟต  แบ่งออกเป็น 3 ข้อดังนี้  โดยจะสรุปให้อยู่ในตาราง

1.  วัดขา  G กับขา D     จะวัดไม่ขึ้นเลยสักครั้ง สลับสายวัดก็ไม่ขึ้นเพราะตรงขา G มีฉนวนคั่นไว้ไม่ได้ต่อกับขาอื่นๆ
2.  วัดขา  G กับขา S     จะวัดไม่ขึ้นเลยสักครั้ง สลับสายวัดก็ไม่ขึ้นเพราะตรงขา G มีฉนวนคั่นไว้ไม่ได้ต่อกับขาอื่นๆ
3.  วัดขา  D กับขา S      แบ่งออกเป็น  3 กรณีตามในตาราง     ด้านล่าง   
ส่วนวิธีวัดไตรแอค ทรานซิสเตอร์  ไดโอด  IGBT   คาปาซิเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตัวอื่นๆ  
จะอยู่ในหนังสือชื่อ
" การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม "     รายละเอียดของหนังสือนี้ ดูด้านล่าง



วัดมอส เฟต 3 ขา    วิธีวัดมอสเฟต  MOSFET
ตารางสรุป   การวัดมอส เฟต 3 ขา 

















4  อาการ  เพาเวอร์ซัพพลาย เสีย    Power supply  เสียอาการต่างๆ  อ่านที่นี้





อ่านต่ออีก  15  บท  ที่   หนังสือด้านล่าง



วิธีการใช้มัลติมิเตอร์      วัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

 มี  15   ตอน   การใช้งานมัลติมิเตอร์     เพื่อวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

 -    เช็ค ดี / เสีย  เป็น    
 -    วัดอุปกรณ์เป็น   ครบอุปกรณ์ที่สำคัญ
 -     เตรียมตัวไปทำงาน หรือ สมัครงาน  มีพื้นฐานดี  สามารถต่อยอดไปได้ไกล  
        บริษัทหรือหน่วยงานต่างๆต้องการคนที่มีพื้นฐานดีและเตรียมพร้อมจะทำงาน  
        เมื่อเข้าไปทำงานแล้วใช้เวลาเรียนรู้งานไม่มาก
-      ลดต้นทุน    ใช้ของให้คุ้มค่า    อุปกรณ์หายากแล้วจำเป็นต้องซ่อมเพื่อใช้งานต่อ  
        ทำงานเกี่ยวกับการซ่อมบำรุง








อ่านได้ที่     Google  play   books    กดที่รูปปกหนังสือ    จะไปยังหน้าเพจหนังสือให้


หนังสือ   ebook  Google play books

                   ปก  หนังสือ  E- book  " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม " 
 อ่านได้ที่   Google play books   มี   15  เรื่องในเล่ม   
มีรูปประกอบเยอะ          เข้าใจง่าย


อ่านที่   Mebmarket   ได้ทั้ง   Android   และ   IOS
Mebmarket ร้าน  E book ชั้นนำของไทย
ใช้ชื่อหนังสือค้นใน   google ก็เจอ  เช่นกัน 
ชื่อ :   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม






สาธิตวิธีวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   มีรูปประกอบเยอะและมีตัวอย่างชัดๆ  

>   เข้าใจง่ายเพราะมีรูปประกอบจำนวนมาก
>   สะดวกสำหรับยุคนี้  คือ   อ่านผ่าน App " Google Play Books "   ในมือถือ

สำหรับมือใหม่และคนที่สนใจการวัดอุปกรณ์ดีเสียเพื่อซ่อมวงจรและทำงานเกี่ยวกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า      หนังสือ " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม "  นี้
มีเนื้อหาถึง 15 บท โดยครอบคลุมการวัดอุปกรณ์ที่สำคัญ ๆ   อ่านได้ที่
Google  Play  Books   โดยทำตาม   2   ขั้นตอน   ต่อไปนี้

1)   ลง App  ก่อน  ชื่อแอป  Google Play Books    (อยู่ที่   Play Store  ในมือถือ )
2)  ค้นหาชื่อหนังสือ  ...... ค้นหาผ่าน google  ........ โดยใช้ชื่อหนังสือค้น หรือ ใช้คำค้นว่า  
"  15 Lesson Test Electronic Components (Thai ) การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม "
หรือ  คลิกตามด้านล่างนี้   จะพาไปยังหน้าหนังสือนี้เลย    ที่  Google Play Books 




ตัวอย่าง หัวข้อในหนังสือ
ครบ การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ  หนังสือ " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม "
มี 15 บท มีให้อ่านที่ร้านอีบุ๊คชั้นนำ    Google Play Books  
และ   MEBMARKET 
หนังสือสำหรับ ช่างซ่อม นักศึกษา วิทยาลัยเทคนิค อาชีวะ สายอาชีพ และผู้ทีสนใจหนังสือช่าง   
สารบัญมี    15 บท  ดังนี้
1)   วิธีวัดไอจีบีที      2)  วิธีวัดมอสเฟต     3) วิธีวัดไตรแอค     4)  วิธีวัดเอสซีอาร์    
5)   วิธีวัดทรานซิสเตอร์   6)   วิธีวัดไอซี  DIP   8   ขา  16 ขา   20  ขา      7)  วิธีวัดไอซี  OPTO     
8)   วิธีวัดไอซีเร็กกูเลเตอร์ตระกูล  78XX   79XX
9)   วิธีวัดไดโอด     10)  วิธีวัดซีเนอร์ไดโอด   11)   วิธีวัดไดโอดบริดจ์  ขั้นเทพ   
12)    วิธีวัด LED    13)  วิธีวัดตัวต้านทาน      14)  วิธีวัดตัวต้านทานปรับค่าได้  วัด VR     
15)    วิธีวัดคาปาซิเตอร์  
 


เลือก หัวข้อ  / เรื่อง  อ่านเพิ่ม

วิธีการใช้มัลติมิเตอร์ วัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ วัดอุปกรณ์เป็น เช็คอุปกรณ์ดีเสียเป็น เล่มนี้เลย

วิธีการใช้มัลติมิเตอร์    วัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์


วิธีการใช้มัลติมิเตอร์    วัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

มี    15   บท    การใช้งานมัลติมิเตอร์     เพื่อวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

-    เช็ค ดี / เสีย  เป็น    
-    วัดอุปกรณ์เป็น   ครบอุปกรณ์ที่สำคัญ

-     เตรียมตัวไปทำงาน หรือ สมัครงาน  มีพื้นฐานดี  สามารถต่อยอดไปได้ไกล  
         บริษัทหรือหน่วยงานต่างๆต้องการคนที่มีพื้นฐานดีและเตรียมพร้อมจะทำงาน  
         เมื่อเข้าไปทำงานแล้วใช้เวลาเรียนรู้งานไม่มาก
-    ลดต้นทุน    ใช้ของให้คุ้มค่า    อุปกรณ์หายากแล้วจำเป็นต้องซ่อมเพื่อใช้งานต่อ  
     ทำงานเกี่ยวกับการซ่อมบำรุง








   อ่านได้ที่   Google  Play   Books  

กดที่รูปปกหนังสือ  จะไปยังหน้าเพจหนังสือที่   Google  Play   Books 






 

                  ปก    หนังสือ  E- book  " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม " 
 อ่านได้ที่   Google play books     มี  15  ตอน  ในเล่ม
 มีรูปประกอบเยอะ          เข้าใจง่าย



อ่านที่   Mebmarket   ได้ทั้ง   Android   และ   IOS
Mebmarket ร้าน  E book ชั้นนำของไทย
ใช้ชื่อหนังสือค้นใน   google ก็เจอ  เช่นกัน 
ชื่อ :   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม






สาธิตวิธีวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   มีรูปประกอบเยอะและมีตัวอย่างชัดๆ  

>   เข้าใจง่ายเพราะมีรูปประกอบจำนวนมาก
>   สะดวกสำหรับยุคนี้  คือ   อ่านผ่าน App " Google Play Books "   ในมือถือ

สำหรับมือใหม่และคนที่สนใจการวัดอุปกรณ์ดีเสียเพื่อซ่อมวงจรและทำงานเกี่ยวกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า      หนังสือ " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม "  นี้
มีเนื้อหาถึง 15 บท โดยครอบคลุมการวัดอุปกรณ์ที่สำคัญ ๆ   อ่านได้ที่
Google  Play  Books   โดยทำตาม   2   ขั้นตอน   ต่อไปนี้

1)   ลง App  ก่อน  ชื่อแอป  Google Play Books    (อยู่ที่   Play Store  ในมือถือ )
2)  ค้นหาชื่อหนังสือ  ...... ค้นหาผ่าน google  ........ โดยใช้ชื่อหนังสือค้น หรือ ใช้คำค้นว่า  
"  15 Lesson Test Electronic Components (Thai ) การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม "
หรือ   คลิกตามด้านล่างนี้   จะพาไปยังหน้าหนังสือนี้เลย    ที่  Google Play Books 




ตัวอย่าง หัวข้อในหนังสือ
ครบ การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ  หนังสือ " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม "
มี 15 บท มีให้อ่านที่ร้านอีบุ๊คชั้นนำ    Google Play Books  
และ   MEBMARKET 
หนังสือสำหรับ ช่างซ่อม นักศึกษา วิทยาลัยเทคนิค อาชีวะ สายอาชีพ และผู้ทีสนใจหนังสือช่าง   
สารบัญมี    15 บท  ดังนี้
1)   วิธีวัดไอจีบีที       2)  วิธีวัดมอสเฟต     3) วิธีวัดไตรแอค     4)  วิธีวัดเอสซีอาร์    
5)   วิธีวัดทรานซิสเตอร์   6)   วิธีวัดไอซี  DIP   8   ขา  16 ขา   20  ขา      7)  วิธีวัดไอซี  OPTO     
8)   วิธีวัดไอซีเร็กกูเลเตอร์ตระกูล  78XX   79XX
9)   วิธีวัดไดโอด     10)  วิธีวัดซีเนอร์ไดโอด   11)   วิธีวัดไดโอดบริดจ์  ขั้นเทพ   
12)    วิธีวัด LED    13)  วิธีวัดตัวต้านทาน      14)  วิธีวัดตัวต้านทานปรับค่าได้  วัด VR     
15)    วิธีวัดคาปาซิเตอร์